วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

(http://www.niteslink.net/)ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม

(http://www.sobkroo.com/ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการเรียนรู้แบบกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักศึกษาคนสำคัญ ได้แก่ สลาวิน เดวิดจอห์นสัน และรอเจอร์ จอห์นสัน
1.องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
   การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
   การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
   - ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
   การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
   การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
2.ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
   มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
   มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
   สุขภาพจิตดีขึ้น
3.ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
   กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
   กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ
   กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร
สรุป ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอนที่สำคัญๆได้รับการพัฒนาจากอดีตจนถึงปัจจุบันเป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายลักษณะการเกิดการเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จะใช้หลักจิตวิทยาใดควรคำนึงถึงบริบทของสังคมนั้นๆเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการจัดการศึกษา
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการเรียนแบบกลุ่ม ซึ่งแต่ละคนภายในกลุ่มจะช่วยกันในการเรียนรู้ แก้ปัญหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งจะใช้ลักษณะในการเรียนรู้ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ การทำงานเป็นกลุ่มช่วยให้เกิดความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และรับฟังความคิดเห็นของแต่ละคนในกลุ่ม ซึ่งแต่ละคนมีความถนัด ความสามารถ ความคิดที่แตกต่างกันออกไป การทำงานเป็นกลุ้มจึงทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานหรือการเรียนร่วมกัน
อ้างอิง
(ประมวลทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นสากลและการประยุกต์สู่การสอน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น