วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

5.วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)


5.วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives)

           http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/object-list1.htm  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า       การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการนำเอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัยได้แล้ว
การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา
     - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา
และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม
     - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการ
วิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์
คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ
ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย
     1. กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะในการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่สำคัญของปัญหาว่ามีอะไรบ้าง จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและตัวแปรอะไรบ้าง
     2. กำหนดแนวทางของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนจะเป็นการวางแนวทาง หรือทิศทางของการวิจัยให้เห็นชัดเจนว่า ลักษณะของการวิจัยจะดำเนินไปในลักษณะไหน เช่น เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง เป็นวิจัยแบบสำรวจ ฯลฯ
     3. เพื่อกำหนดของเขตของการวิจัย วัตถุประสงค์จะเป็นเครื่องชี้บอกขอบเขตของการวิจัยว่าครอบคลุม แค่ไหน ซึ่งบางครั้งการวิจัยต้องระบุขอบเขตในเรื่องวิธีการ กลุ่มประชากร ระยะเวลา หรือสถานที่ก็ได้
การเขียนวัตถุประสงค์ที่ดีและชัดเจน มีประโยชน์ดังนี้
        - ช่วยทำให้ปัญหาการวิจัยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น รู้ขอบเขตและแนวทางปฏิบัติ
        - ทำให้การวิจัยมีเป้าหมายที่แน่นอน และสามารถกำหนดวิธีดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
        - ทำให้ทราบคุณลักษณะหรือตัวแปรที่ศึกษา และประชากรเป้าหมาย
หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย
     1. ต้องเขียนประเด็นของปัญหาให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร ในแง่มุมใด และเรื่องที่ศึกษาต้องอยู่ในกรอบของหัวเรื่องที่ทำวิจัย
     2. วัตถุประสงค์ที่เขียนต้องสามารถศึกษาได้ กระทำได้ หรือเก็บข้อมูลได้ทั้งหมด
     3. ต้องเขียนวัตถุประสงค์ในลักษณะที่สั้น กระทัดรัด ใช้ภาษาที่ง่าย
     4. วัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปประโยคบอกเล่า หรือประโยคคำถามก็ได้
     5. วัตถุประสงค์สามารถเขียนในรูปของการเปรียบเทียบ เพื่อเน้นความแตกต่าง หรือเขียนในรูปของความสัมพันธ์
     6. วัตถุประสงค์สามารถเขียนรวมเป็นข้อเดียว หรืออาจเขียนแยกเป็นข้อๆ ก็ได้
     7. จำนวนวัตถุประสงค์มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับของเขตของการวิจัย ว่าต้องการศึกษาแค่ไหน
     8. การเรียงหัวข้อวัตถุประสงค์ สามารถเรียงได้หลายลักษณะ เช่น เรียงตามความสำคัญของประเด็นปัญหาวิจัยลดหลั่นลงมา หรืออาจเรียงตามลักษณะระดับปัญหาใหญ่และปัญหารองลงมา หรืออาจเรียงวัตถุประสงค์ตามความสอดคล้องของเนื้อหา หรืออาจเรียงวัตถุประสงค์ตามลำดับการเกิดก่อน เกิดหลังของแต่ละปัญหาได้
     9. อย่านำประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับมาเขียนไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัย เพราะวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นเรื่องที่ต้องทำ แต่ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดการวิจัยแล้ว ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับไม่ได้เป็นเรื่องบังคับให้ผู้วิจัยต้องทำเหมือนวัตถุประสงค์ และเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วผลที่คาดหวังไว้อาจจะเป็นไปตามที่คาดหรือไม่ก็ได้


          http://www.oknation.net/blog/print.php?id=359275  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า
กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ ไว้ 8 ประการคือ
     1. เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคม หรือเพื่อหาความเป็นไปได้ที่จะทำวิจัยในเรื่องต่อๆไป
     2. เพื่ออธิบายความเป็นอยู่ของคนในสังคมโดยการให้ข้อมูลหรือข่าวสารที่น่าเชื่อถือ
     3. เพื่อประเมินประเด็นต่าง ๆ ทางด้านสังคมและผลกระทบที่มีต่อสังคมนั้นๆ
     4. เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์ในอนาคต
     5. เพื่อพัฒนาหรือทดสอบทฤษฎี
     6. เพื่อเข้าใจพฤติกรรมและการกระทำของมนุษย์
     7. เพื่อเป็นพื้นฐานในการวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคม
     8. เพื่อเสนอแนะทางออกต่าง ๆ ที่เป็นไปได้เพื่อการแก้ปัญหาสังคม

          http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538633496  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญของการวิจัย เพราะวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะเป็นเครื่องชี้ทิศทางการดำเนินงานทั้งหมดของการวิจัยเรื่องนั้น ๆ  ว่าจะศึกษาเรื่องใดบ้าง มีขอบเขตครอบคลุมอะไรบ้าง  ดังนั้นสามารถกล่างสรุปได้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย หมายถึง การที่ผู้วิจัยได้กำหนดผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจากงานวิจัยเรื่องหนึ่งๆ  โดยทั่วไปแล้วการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยมักจะเริ่มต้นคำว่าเพื่อและตามด้วยผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจะให้เกิดขึ้น โดยในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นมักมีการเป็นระบุออกมาเป็นข้อๆ โดยการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะต้องมีความชัดเจนถึงผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจะให้เกิดขึ้นโดยจะต้องครอบคลุมในทุกเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบจากปัญหาการวิจัย เช่น 
·  เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการทางการคลัง 
·  เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไปปฏิบัติ 
·  เพื่อศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาความยากจน เป็นต้น 

         จากตัวอย่างทั้งสามดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าผู้วิจัยได้บ่งบอกถึงผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจากงานวิจัยแต่ละเรื่องไว้  ดังตัวอย่างแรกที่กำหนดไว้ว่าเพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการทางการคลัง  ผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง คือ การได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบจากการประกาศใช้มาตรการทางการคลัง หรือตัวอย่างที่สองที่กำหนดไว้ว่าเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไปปฏิบัติ ผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง คือ การได้ทราบข้อเท็จจริงว่าจะมีตัวแปรหรือปัจจัยใดบ้างที่สามารถอธิบายถึงประสิทธิผลของการนำนโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นไปปฏิบัติได้  หรือตัวอย่างที่สามที่กำหนดไว้ว่าเพื่อศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาความยากจน ผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง คือ การได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุทั้งหมดที่นำไปสู่ปัญหาความยากจน

           สรุป
           การกำหนดวัตถุประสงค์ เป็นการนำเอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัยได้แล้ว  โดยทั่วไปแล้วการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยมักจะเริ่มต้นคำว่าเพื่อและตามด้วยผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจะให้เกิดขึ้น โดยในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นมักมีการเป็นระบุออกมาเป็นข้อๆ โดยการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยจะต้องมีความชัดเจนถึงผลลัพธ์ที่มุ่งหวังจะให้เกิดขึ้นโดยจะต้องครอบคลุมในทุกเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการค้นหาคำตอบจากปัญหาการวิจัย

เอกสารอ้างอิง
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/object-list1.htm  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2556
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=359275  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2556
http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538633496  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น