6.สมมติฐาน (Hypothesis)
http://www.stks.or.th/blog/?p=2385 ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า คำว่าสมมติฐานที่นำมาใช้ในการวิจัยนั้น หมายถึง ความคาดหวังเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ได้จากการสรุปเป็นการทั่วไป ที่หวังว่าตัวแปร 2 ตัวหรือหลายตัวจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง
http://www.stks.or.th/blog/?p=2385 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556
http://edurmu.org/cai/_surawart/elearning/content/lesson5/501.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/hypothysis1.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556
1.สมมติฐานที่ดีจะต้องประกอบด้วยเกณฑ์สองอย่าง คือ
ประการแรก สมมติฐานต้องเป็นข้อความแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ประการที่สอง สมมติฐานจะต้องชัดเจน และสามารถทดสอบความสัมพันธ์ดังกล่าวได้ หากข้อความขาดคุณสมบัติดังกล่าวก็จะไม่ใช่สมมติฐาน
2.สมมติฐานจัดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากอย่างหนึ่งในการวิจัยเพราะเป็นแหล่งเชื่อมโยงระหว่างปัญหากับข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่จะตอบปัญหา สมมติฐานยังเป็นเสมือนแนวทางในการสำรวจปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับปัญหาที่กำลังทำการสืบค้นอยู่นั้น ความสำคัญของสมมติฐานพอจะประมวลได้เป็นข้อๆ ดังนี้
2.1 การชี้ให้เห็นปัญหาชัดเจน ถ้าไม่มีสมมติฐานเป็นเครื่องชี้นำ ผู้วิจัยอาจเสียเวลาในการหาสาเหตุและการแก้ปัญหาโดยเป็นการกระทำที่ผิวเผิน แต่การตั้งสมมติฐานนั้น ผู้วิจัยจะต้องได้ตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนถึงข้อเท็จจริงและมโนทัศน์ที่คาดว่าจะสัมพันธ์กับปัญหา แล้วแยกแยะให้เห็นข้อสนเทศที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องในเชิงความสัมพันธ์ ทั้งนี้ในกระบวนการสร้างสมมติฐาน การนิรนัยผลที่ตามมา และการนิยามคำที่ใช้นั้นจะช่วยทำให้เห็นประเด็นของปัญหาที่ทำการวิจัยชัอเจนชึ้น
2.2 สมมติฐานช่วยกำหนดความเกี่ยวข้องระหว่างข้อเท็จจริง ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ได้รับการเลือกเฟ้นอย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการสืบค้นความจริง การรวบรวมข้อมูลจำนวนมากโดยปราศจากจุดหมายนั้น เป็นการกระทำที่ไร้ประโยชน์เพราะข้อมูลเหล่านั้น ที่มิได้เลือกเฟ้นจะให้เหตุผลที่เป็นไปได้หลายหลากแตกต่างกัน จนไม่สามารถจะสรุปเป็นข้อยุติที่ชัดเจนได้ ข้อเท็จจริงที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหานั้นจะไม่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ถ้ามีสมมติฐานแล้ว จะทำให้ผู้วิจัยแน่ใจว่าควรรวบรวมข้อเท็จจริงอะไรมากน้อยแค่ไหนจึงจะเพียงพอที่จะทดสอบผลที่ตามมาได้ครบถ้วน สมมติฐานจึงช่วยในการกำหนดและรวบรวมสิ่งที่ต้องการเพื่อแก้ปัญหาวิจัยนั้น
2.3 สมมติฐานเป็นตัวชี้การออกแบบการวิจัย สมมติฐานไม่ใช่เพียงแต่ชี้แนวทางว่าควรพิจารณาข้อสนเทศใดแต่จะช่วยบอกวิธีที่จะรวบรวมข้อมูลด้วย สมมติฐานที่สร้างอย่างดีจะเสนอแนะว่ารูปแบบการวิจัยควรจะเป็นเช่นไรจึงจะเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะที่ต้องการทราบ สมมติฐานจะบอกแนวทางถึงกลุ่มตัวอย่างแบบสอบหรือเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ จะมีวิธีการอย่างไร วิธีการสถิติที่เหมาะสมคืออะไรตลอดจนจะรวบรวมข้อเท็จจริงในสถานการณ์ใดที่เหมาะสมกับปัญหา
2.4 สมมติฐานช่วยอธิบายปรากฏการณ์ การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่ใช่เป็นเพียงการรวบรวมข้อเท็จจริงและจัดพวกตามคุณสมบัติผิวเผินของข้อเท็จจริงเหล่านั้น เช่นไม่ใช่เพียงแต่จัดตารางบอกลักษณะของพฤติกรรมก้าวร้าว หรือเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยุวอาชญากรรมเท่านั้น แต่นักวิจัยจะต้องกำหนดว่าองค์ประกอบใดก่อให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนั้น โดยอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ที่น่าจะเป็นสาเหตุและผลอย่างเหมาะสม สมมติฐานที่สร้างขึ้นจากข้อเท็จจริงจะช่วยให้ผู้วิจัยมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสำรวจและอธิบายสิ่งที่แฝงอยู่เบื้องหลังได้
2.5 สมมติฐานช่วยกำหนดขอบเขตของข้อยุติ ถ้าหากผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานในเชิงนิรนัยไว้ ก็เท่ากับได้วางขอบเขตในข้อยุติไว้แล้ว ผู้วิจัยอาจระบุเหตุผลว่าถ้า H1 จริงแล้วข้อเท็จจริงเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นจากการทดสอบกับข้อมูลจริง ข้อเท็จจริงนั้นเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ดังนั้นข้อยุติก็จะเป็นว่า ได้รับการยืนยันหรือไม่ได้รับการยืนยัน สมมติฐานจึงให้ขอบเขตในการตความขัอค้นพบอย่างเฉียบขาดและมีความหมายกระชับ ถ้าไม่มีสมมติฐานที่เป็นการทำนายล่วงหน้าข้อเท็จจริงก็ไม่มีโอกาศที่จะได้รับการยืนยันหรือไม่ได้รับการยืนยันแต่อย่างใด
2.1 การชี้ให้เห็นปัญหาชัดเจน ถ้าไม่มีสมมติฐานเป็นเครื่องชี้นำ ผู้วิจัยอาจเสียเวลาในการหาสาเหตุและการแก้ปัญหาโดยเป็นการกระทำที่ผิวเผิน แต่การตั้งสมมติฐานนั้น ผู้วิจัยจะต้องได้ตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนถึงข้อเท็จจริงและมโนทัศน์ที่คาดว่าจะสัมพันธ์กับปัญหา แล้วแยกแยะให้เห็นข้อสนเทศที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องในเชิงความสัมพันธ์ ทั้งนี้ในกระบวนการสร้างสมมติฐาน การนิรนัยผลที่ตามมา และการนิยามคำที่ใช้นั้นจะช่วยทำให้เห็นประเด็นของปัญหาที่ทำการวิจัยชัอเจนชึ้น
2.2 สมมติฐานช่วยกำหนดความเกี่ยวข้องระหว่างข้อเท็จจริง ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ได้รับการเลือกเฟ้นอย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการสืบค้นความจริง การรวบรวมข้อมูลจำนวนมากโดยปราศจากจุดหมายนั้น เป็นการกระทำที่ไร้ประโยชน์เพราะข้อมูลเหล่านั้น ที่มิได้เลือกเฟ้นจะให้เหตุผลที่เป็นไปได้หลายหลากแตกต่างกัน จนไม่สามารถจะสรุปเป็นข้อยุติที่ชัดเจนได้ ข้อเท็จจริงที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหานั้นจะไม่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ถ้ามีสมมติฐานแล้ว จะทำให้ผู้วิจัยแน่ใจว่าควรรวบรวมข้อเท็จจริงอะไรมากน้อยแค่ไหนจึงจะเพียงพอที่จะทดสอบผลที่ตามมาได้ครบถ้วน สมมติฐานจึงช่วยในการกำหนดและรวบรวมสิ่งที่ต้องการเพื่อแก้ปัญหาวิจัยนั้น
2.3 สมมติฐานเป็นตัวชี้การออกแบบการวิจัย สมมติฐานไม่ใช่เพียงแต่ชี้แนวทางว่าควรพิจารณาข้อสนเทศใดแต่จะช่วยบอกวิธีที่จะรวบรวมข้อมูลด้วย สมมติฐานที่สร้างอย่างดีจะเสนอแนะว่ารูปแบบการวิจัยควรจะเป็นเช่นไรจึงจะเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะที่ต้องการทราบ สมมติฐานจะบอกแนวทางถึงกลุ่มตัวอย่างแบบสอบหรือเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ จะมีวิธีการอย่างไร วิธีการสถิติที่เหมาะสมคืออะไรตลอดจนจะรวบรวมข้อเท็จจริงในสถานการณ์ใดที่เหมาะสมกับปัญหา
2.4 สมมติฐานช่วยอธิบายปรากฏการณ์ การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่ใช่เป็นเพียงการรวบรวมข้อเท็จจริงและจัดพวกตามคุณสมบัติผิวเผินของข้อเท็จจริงเหล่านั้น เช่นไม่ใช่เพียงแต่จัดตารางบอกลักษณะของพฤติกรรมก้าวร้าว หรือเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยุวอาชญากรรมเท่านั้น แต่นักวิจัยจะต้องกำหนดว่าองค์ประกอบใดก่อให้เกิดปรากฏการณ์เช่นนั้น โดยอธิบายให้เห็นความสัมพันธ์ที่น่าจะเป็นสาเหตุและผลอย่างเหมาะสม สมมติฐานที่สร้างขึ้นจากข้อเท็จจริงจะช่วยให้ผู้วิจัยมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสำรวจและอธิบายสิ่งที่แฝงอยู่เบื้องหลังได้
2.5 สมมติฐานช่วยกำหนดขอบเขตของข้อยุติ ถ้าหากผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานในเชิงนิรนัยไว้ ก็เท่ากับได้วางขอบเขตในข้อยุติไว้แล้ว ผู้วิจัยอาจระบุเหตุผลว่าถ้า H1 จริงแล้วข้อเท็จจริงเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นจากการทดสอบกับข้อมูลจริง ข้อเท็จจริงนั้นเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ดังนั้นข้อยุติก็จะเป็นว่า ได้รับการยืนยันหรือไม่ได้รับการยืนยัน สมมติฐานจึงให้ขอบเขตในการตความขัอค้นพบอย่างเฉียบขาดและมีความหมายกระชับ ถ้าไม่มีสมมติฐานที่เป็นการทำนายล่วงหน้าข้อเท็จจริงก็ไม่มีโอกาศที่จะได้รับการยืนยันหรือไม่ได้รับการยืนยันแต่อย่างใด
http://edurmu.org/cai/_surawart/elearning/content/lesson5/501.html ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่าสมมติฐาน หมายถึง ข้อความที่คาดคะเนความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปหรือข้อความที่ผู้วิจัยตั้งไว้เพื่อคาดคะเนหรือ ทำนายถึงผลของการวิจัยชนิดของสมมุติฐาน
สมมติฐานทางวิจัย (Research Hypothesis) คือ สมมติฐานที่เขียนในลักษณะของข้อความ สมมติฐานทางสถิติ(Statistical Hypothesis) คือ สมมติฐานที่เขียนบรรยายในรูปของ สัญลักษณ์ เชิงสถิติ โดยสัญลักษณ์ที่ใช้จะใช้แทน ค่าพารามิเตอร์ (Parameter)ชนิดของสมมติฐานทางวิจัยแบ่งตามทิศทาง สมมุติฐานแบบมีทิศทาง (Directional Hypothesis) คือ สมมุติฐานที่ระบุได้แน่นอนถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรว่า สัมพันธ์ในทางใด สมมุติฐานแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectional Hypothesis) คือ สมมุติฐานที่ระบุไม่ได้แน่นอนถึงความสัมพันธ์ของตัวแปร ว่าสัมพันธ์ในทางใดตัวอย่างสมมุติฐานทางวิจัย สมมติฐานแบบมีทิศทาง 1. ความคิดสร้างสรรค์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความ สัมพันธ์กันทางบวก 2. การสูบบุหรี่กับการเป็นมะเร็งมีความสัมพันธ์กันทางลบ 3. เด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดมีวินัยในตนเอง มากกว่าเด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง 1. ความคิดสร้างสรรค์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความ สัมพันธ์กัน 2. การสูบบุหรี่กับการเป็นมะเร็งมีความสัมพันธ์กัน 3. เด็กที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวดกับเด็กที่ได้รับ การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย มีวินัยในตนเอง แตกต่างกัน สมมติฐานทางสถิติ 1. สมมติฐานเป็นกลาง (Null Hypothesis) คือ ใช้เขียนแทนสมมติฐานทางวิจัยแบบไม่มีทิศทาง แทนด้วยสัญลักษณ์ H0 2. สมมติฐานไม่เป็นกลาง (Alternative Hypotesis) คือ ใช้เขียนแทนสมมติฐานทางวิจัยที่มีลักษณะตรงข้ามกับ สมมติฐานเป็นกลาง แทนด้วยสัญลักษณ์ H1
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/hypothysis1.htm ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า สมมติฐาน หมายถึง ข้อสมมติฐานที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผลในการทดลองหรือการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงถึงการคาดการถึงผลการวิจัยที่จะได้รับและสามารถทดสอบได้ นอกจากนี้อาจหมายถึงการคาดการณ์หรือการอธิบาย ปรากฏการณ์ระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปรขึ้นไป ว่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร
1. ช่วยชี้แนะให้ผู้วิจัยพิจารณาชนิดของตัวแปรที่สำคัญ ข้อมูลที่จะเก็บ ชนิดของเครื่องมือที่เหมาะสม และวิธีการเก็บข้อมูล 2. ช่วยเป็นกรอบของการดำเนินการวิจัยให้เฉพาะเจาะจงมากกว่าวัตถุประสงค์ ในแง่ของการพิจารณารูปแบบการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล 3. สามารถสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นได้ รวมทั้งเป็นการทดสอบทฤษฎีเก่าด้วย ชนิดของสมมติฐาน สมมติฐานแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้ 1. สมมติฐานทางวิจัย เป็นข้อความที่เขียนคาดการณ์ อธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป 2. สมมติฐานทางสถิติ เป็นข้อความสั้นๆ ที่เขียนโดยใช้สัญลักษณ์ทางสถิติแทนข้อความที่เขียนเต็มในสมมติฐานทางวิจัย I สมมติฐานทางวิจัย รูปแบบของสมมติฐานทางวิจัย 1. สมมติฐานเชิงพรรณนา (Descriptive Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ตั้งขึ้นสำหรับงานวิจัยที่ต้องการหาข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือเหตุการณ์บางอย่างโดยไม่มีการพิสูจน์ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรใดๆ 2. สมมติฐานเชิงวิเคราะห์ (Analysis Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่แสดงความสัมพันธ์หรือ เปรียบเทียบระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป สมมติฐานชนิดนี้จะมีการนำเอาวิธีการทางสถิติมาทดสอบด้วยเสมอ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด 2.1 แบบเปรียบเทียบ เป็นสมมติฐานที่แสดงการเปรียบเทียบตัวแปรในลักษณะของคำว่า แตกต่าง ไม่แตกต่าง ดีกว่า น้อยกว่า รุนแรงกว่า เร็วกว่า สูงกว่า ต่ำกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า เป็นต้น และสมมติฐานนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ แบบเปรียบเทียบไม่ระบุทิศทาง เช่น - อัตราการตายของทารกเพศชาย แตกต่างจากอัตราการตายของทารกเพศหญิง - อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตที่มีโครงการจัดหาน้ำสะอาด และเขตที่ไม่มีโครงการจัดหาน้ำสะอาด มีความแตกต่างกัน แบบเปรียบเทียบระบุทิศทาง เช่น - หญิงตั้งครรภ์ในเขตเมืองมีความรู้ในการป้องกันภาวะโลหิตจางสูงกว่าเขตนอกเมือง - กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ที่เลี้ยงด้วยนมมารดา จะป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันต่ำกว่ากลุ่มเด็กที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยนมมารดา2.2 แบบแสดงความสัมพันธ์ เป็นสมมติฐานที่แสดงลักษณะความสัมพันธ์ ระหว่าง ตัวแปร และอาจจะระบุลึกลงไปในแง่ของความเป็นเหตุ เป็นผล ก็ได้ สมมติฐานชนิดนี้สามารถแยกได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้ แบบแสดงความสัมพันธ์ไม่ระบุทิศทาง เช่น - แบบแผนการให้อาหารทารกมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของทารก - การขาดความอบอุ่นจากบิดามารดา มีความสัมพันธ์กับการติดยาเสพติดครั้งแรก แบบแสดงความสัมพันธ์ระบุทิศทาง - น้ำหนักแรกเกิดของทารกมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะโภชนาการของมารดา - อัตราการใช้วิธีการคุมกำเนิดสูง ทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ต่ำ II สมมติฐานทางสถิติ สมมติฐานทางสถิติเป็นสมมติฐานที่เขียนขึ้น เพื่อใช้ทดสอบทางสถิติ เขียนโดยใช้สัญลักษณ์ทางสถิติประกอบด้วย 1. สมมติฐานศูนย์ (null hypothesis : Ho) คือสมมติฐานทางสถิติที่กำหนดให้ไม่มีความแตกต่าง หรือไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษา เช่น สมมติฐานการวิจัยผู้ป่วยที่ได้รับการสอนแบบกลุ่มย่อยมีคะแนนความเครียด ไม่แตกต่าง กับ ผู้ป่วยที่ได้รับการสอนแบบรายบุคคล สมมติฐานสถิติ กำหนดให้ Ho คือ สมมติฐานศูนย์ กำหนดให้ U1 คือ คะแนนเฉลี่ยของคะแนนความเครียดของผู้ป่วย ที่ได้รับการสอนแบบกลุ่มย่อย กำหนดให้ U2 คือ คะแนนเฉลี่ยของคะแนนความเครียดของผู้ป่วย ที่ได้รับการสอนแบบรายบุคคล สามารถเขียนสมมติฐานทางสถิติได้ดังนี้ Ho : U1 = U2 2. สมมติฐานเลือก (alternative hypothesis : H1 หรือ Ha) คือสมมติฐานทางสถิติที่มีความแตกต่างหรือมีความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปรที่ศึกษา โดยทั่วไปเราจะตั้งสมมติฐานศูนย์ไว้ทดสอบทางสถิติ โดยคาดหวังว่าเมื่อทดสอบสมมติฐานแล้ว ผลที่ได้จะปฏิเสธสมมติฐานศูนย์ และยอมรับสมมติฐานเลือก ซึ่งเป็นการสนับสนุนสมมติฐานทางการวิจัย เช่น สมมติฐานการวิจัยผู้ป่วยที่ได้รับการสอนแบบกลุ่มย่อยมีคะแนนความเครียดไม่แตกต่างกับ ผู้ป่วยที่ได้รับการสอนแบบรายบุคคล สมมติฐานสถิติ กำหนดให้ H1 คือ สมมติฐานเลือก กำหนดให้ U1 คือ คะแนนเฉลี่ยของคะแนนความเครียดของผู้ป่วย ที่ได้รับการสอนแบบกลุ่มย่อย กำหนดให้ U2 คือ คะแนนเฉลี่ยของคะแนนความเครียดของผู้ป่วย ที่ได้รับการสอนแบบรายบุคคล สามารถเขียนสมมติฐานทางสถิติได้ดังนี้ H1 : U1 < U2 หลักการเขียนสมติฐานการวิจัย 1. ควรประกอบไปด้วยตัวแปรอย่างน้อย 2 ตัว เช่น ให้ X เป็นตัวแปรอิสระ และให้ Y เป็นตัวแปรตาม 2. ควรระบุถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรซึ่งกันและกันไว้อย่างชัดเจน เช่น X มีความสัมพันธ์กับ Y และระบุทิศทางของความสัมพันธ์ถ้าสามารถระบุได้ 3. สามารถทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรได้ด้วยวิธีการทางสถิติ 4. ภาษาที่ต้องใช้ต้องเฉพาะเจาะจง เข้าใจง่าย อ่านแล้วมีความหมายชัดเจน ข้อเสนอแนะในการเขียนสมมติฐาน 1. ควรเขียนสมมติฐาน หลังจากทบทวนวรรณคดีที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดแล้ว การทดสอบสมมติฐานโดยไม่ทบทวนวรรณคดีให้เพียงพอจะทำให้การตั้งสมมติฐานผิดพลาด 2. สมมติฐานต้องเขียนเป็นประโยคบอกเล่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น และตัวแปรตาม พร้อมทั้งระบุทิศทางของความสัมพันธ์ หรือทิศทางของความแตกต่างในลักษณะเปรียบเทียบไว้อย่างชัดเจน ยกเว้นการวิจัยบางเรื่องที่ไม่สามารถระบุทิศทางความสัมพันธ์หรือทิศทางความแตกต่างได้ 3. ประโยคของสมมติฐานแต่ละข้อควรเป็นประโยคสั้นๆ ใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจง่าย ไม่กำกวน ส่วน คำศัพท์เกี่ยวกับตัวแปรต้องระบุความหมายให้ชัดเจน 4. สมมติฐานต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและอยู่ในกรอบของปัญหาการวิจัยเท่านั้น อย่าตั้งสมมติฐานที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือออกนอกกรอบปัญหาการวิจัย 5. ในปัญหาการวิจัยเรื่องหนึ่ง อาจเขียนสมมติฐานได้หลายข้อ แต่ละข้อให้เขียนประเด็นใดประเด็นหนึ่งของปัญหาวิจัยเท่านั้น ไม่ควรเขียนปัญหาการวิจัยในหลายประเด็นเข้าไว้ในสมมติฐานข้อเดียวกัน 6. สมมติฐานที่ตั้งขึ้น ควรเรียงลำดับข้อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในการทำวิจัย สมมติฐานที่ตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกเสมอไป อาจจะผิดก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของข้อมูล ประเด็นสำคัญอยู่ที่การตั้งสมมติฐาน ต้องยึดเหตุผลทางตรรกะวิทยาให้มากที่สุด และสมมติฐานที่ตั้งขึ้น ถ้าสามารถระบุทิศทางในแง่ของการเปรียบเทียบหรือแสดงความสัมพันธ์ได้อย่างชัดเจนแล้ว จะช่วยชี้แนวทางการเลือกสถิติทดสอบแบบ ทางเดียว หรือแบบสองทางได้ด้วย นอกจากนี้การวิจัยบางเรื่องก็ไม่จำเป็นต้องตั้ง สมมติฐานก็ได้เช่น การวิจัยเชิงสำรวจ หรือการวิจัยเชิงพรรณนา สรุป สมมติฐาน หมายถึง ข้อสมมติฐานที่ใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผลในการทดลองหรือการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงถึงการคาดการถึงผลการวิจัยที่จะได้รับและสามารถทดสอบได้ นอกจากนี้อาจหมายถึงการคาดการณ์หรือการอธิบาย ปรากฏการณ์ระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวแปรขึ้นไป ว่ามีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร หลักการเขียนสมติฐานการวิจัย 1. ควรประกอบไปด้วยตัวแปรอย่างน้อย 2 ตัว เช่น ให้ X เป็นตัวแปรอิสระ และให้ Y เป็นตัวแปรตาม 2. ควรระบุถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรซึ่งกันและกันไว้อย่างชัดเจน เช่น X มีความสัมพันธ์กับ Y และระบุทิศทางของความสัมพันธ์ถ้าสามารถระบุได้ 3. สามารถทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรได้ด้วยวิธีการทางสถิติ 4. ภาษาที่ต้องใช้ต้องเฉพาะเจาะจง เข้าใจง่าย อ่านแล้วมีความหมายชัดเจน เอกสารอ้างอิง |
http://edurmu.org/cai/_surawart/elearning/content/lesson5/501.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/hypothysis1.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น